วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

PHP operator

operator คืออะไร
operator คือตัวดำเนินการทางตรรกะครับ
operator มีประโยชน์อย่างไร operator เอาไว้ทำให้ อัลกอลิทึม ของโปรแกรมเป็นไปตามต้องการครับ ตัวอย่าง operator หรือ ตัวดำเนินการของภาษา PHP มีดังนี้ครับ


1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmatic Operators)การบวก รูปแบบการใช้งาน เช่น $a + $b หมายถึง การหาผลรวมของ $a กับ $bการลบ รูปแบบการใช้งาน เช่น $a - $b หมายถึง การหาผลต่างของ $a กับ $bการคูณ รูปแบบการใช้งาน เช่น $a * $b หมายถึง การหาผลคูณของ $a กับ $bการหาร รูปแบบการใช้งาน เช่น $a / $b หมายถึง การหาผลการหารของ $a กับ $bการหารเอาเศษ รูปแบบการใช้งาน เช่น $a % $b หมายถึง การหาเศษผลการหารของ $a กับ $b

2. ตัวดำเนินการเพิ่มค่า/ลดค่า (Increment / Decrement Operators)Pe-increment รูปแบบการใช้งาน เช่น ++$a หมายถึง การเพิ่มค่า 1 ก่อนแล้วค่อยให้ค่ากับตัวแปรPost-increment รูปแบบการใช้งาน เช่น $a++ หมายถึง การให้ค่ากับตัวแปรก่อน แล้วค่อยเพิ่มค่า 1Pe-decrement รูปแบบการใช้งาน เช่น --$a หมายถึง การลดค่า 1 ก่อนแล้วค่อยให้ค่ากับตัวแปรPost-decrement รูปแบบการใช้งาน เช่น $a-- หมายถึง ให้ค่ากับตัวแปรก่อน แล้วค่อยลดค่า 1

3. ตัวดำเนินการตรรกศาสตร์ (Logical Operators)and รูปแบบการใช้งาน เช่น $a and $b หมายถึง เป็นจริงเมื่อทั้ง $a และ $b เป็นจริงand รูปแบบการใช้งาน เช่น $a && $b หมายถึง เป็นจริงเมื่อทั้ง $a และ $b เป็นจริงor รูปแบบการใช้งาน เช่น $a or $b หมายถึง เป็นจริงเมื่อ $a หรือ $b เป็นจริงor รูปแบบการใช้งาน เช่น $a $b หมายถึง เป็นจริงเมื่อ $a หรือ $b เป็นจริงExclusive or รูปแบบการใช้งาน เช่น $a xor $b หมายถึง เป็นจริงเมื่อ $a และ $b ตัวใดตัวหนึ่งเป็นจริงnot รูปแบบการใช้งาน เช่น !$a หมายถึง เป็นจริงเมื่อ $a เป็นเท็จ

ตัวดำเนินการด้านการเปรียบเทียบ
== เท่ากับ เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายเท่ากับขวา
!= ไม่เท่ากับ เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายไม่เท่ากับขวา
=== เท่ากับ เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายเท่ากับขวาและชนิดของข้อมูลต้องเหมือนกัน
> มากกว่า เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายมากกว่าขวา
>= มากกว่าหรือเท่ากับ เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายมากกว่าหรือเท่ากับขวา
< น้อยกว่า เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายน้อยกว่าขวา <= น้อยกว่าหรือเท่ากับ เป็นจริงก็ต่อเมื่อ ซ้ายน้อยกว่าหรือเท่ากับขวา ตัวดำเนินการด้านการตรรกศาสตร์
หรือ เป็นจริงก็ต่อเมื่อซ้ายหรือขวาเป็นจริง
or หรือ เป็นจริงก็ต่อเมื่อซ้ายหรือขวาเป็นจริง
&& และ เป็นจริงก็ต่อเมื่อซ้ายและขวาเป็นจริง
and และ เป็นจริงก็ต่อเมื่อซ้ายและขวาเป็นจริง
! ไม่ เป็นจริงก็ต่อเมื่อค่าตรงกันข้าม


โครงสร้างควบคุม
โครงสร้างควบคุม คือ โครงสร้างภายใน PHP ที่ใช้ควบคุมการทำงานต่างๆ โดยสามารถจัดกลุ่มเป็น
-โครงสร้างเงื่อนไข ( เช่น if)
-โครงสร้างวนรอบ หรือ loop ( เช่น while)
ถ้าต้องการตอบสนองกับข้อมูล บางทีคำสั่งจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยเงื่อนไข (Conditional) บางอย่าง เพื่อบอกโปรแกรมให้ตัดสินใจ
เริ่มด้วย อะไรดี อืม… เอา ฟังชั่น IF ก่อนแล้วกัน ง่ายดี
Function IF คืออะไร??
ฟังชั่น IF ก็คือ ฟังชั่นที่ใช้ในการ ตัดสินใจ..งงป่ะ -*- งั้นอธิบายเพิ่มอีกหน่อย มันคือ การ เลือกกระทำ แบบ จริง หรือเท็จ ถ้า จริง ให้ ทำอย่างนี้ ถ้า เท็จ ให้ทำอีกอย่างหนึ่ง
อืม น่าจะ พอเข้าใจกันบ้างแล้วนะ งั้นเราไปดู ลักษณะการทำงานกันดีกว่า…
if ใช้ในการตัดสินใจ โดยต้องกำหนดเงื่อนไขกับประโยคคำสั่ง ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง กลุ่มคำสั่ง (block code) จะได้รับการประมวลผล
เงื่อนไขในประโยคคำสั่ง if ต้องอยู่ในวงเล็บ ตัวอย่างเช่น
if ($total > 50) {
echo “ท่านได้ใส่จำนวนเกิน 50″;
} else {
echo “ท่านได้ใส่จำนวนต่ำกว่า 50″;
}
จากตัวอย่างข้างบน จะสรุปได้ว่า if($total>50) คือ ถ้า ตัวแปร total น้อยกว่า 50 ให้แสดงผลคำว่า “ท่านได้ใส่จำนวนเกิน 50″ ถ้าเป็นเท็จ ให้แสดงผลคำว่า “ท่านได้ใส่จำนวนต่ำกว่า 50″ ซึ่ง ชุดของคำสั่งจะเป็นแบบนี้นะ

if แปล ตามตัวคือ ถ้า
สมมุติว่าเราต้องการให้ user ทำการล็อกอินก่อนถึงจะใช้งานเว็บของเราได้นะครับ เราก็จะเขียน operation ได้ดังนี้
if(สถานะ user != "login"){
เข้าระบบไม่ได้
}else if(สถานะ user =="login"){
เข้าระบบได้
}

เขียนเป็นโค้ดนะครับ
if($userStatus!="login"){
echo"เข้าระบบไม่ได้";
}else if($userStatus=="login"){
echo"เข้าระบบได้";
}

if (เงื่อนไข) {
คำสั่งที่จะกระทำเมื่อเป็นจริง
} else {
คำสั่งที่จะกระทำเมื่อเป็นเท็จ
}
เป็นไงบ้าง ง่ายใช่ไไหมหละ งั้น แป้งก็จบ เรื่อง IF ไว้แค่นี้ก่อนนะ ไปดู เรื่องอื่นต่อเลย..


While loop คืออะไร??
Loop ง่ายที่สุดของ PHP คือ while loop ซึ่งเหมือนกับประโยคคำสั่ง if ที่ขึ้นกับเงื่อนไขความแตกต่างระหว่าง while loop กับประโยคคำสั่ง if คือ ประโยคคำสั่ง if ประมวลผลกลุ่มคำสั่งเพียงครั้งเดียวถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
while loop ประมวลผลกลุ่มคำสั่งซ้ำตราบเท่าที่เงื่อนไขเป็นจริง โดยทั่วไป while loop ใช้ เมื่อ ไม่ทราบจำนวนรอบประมวลผล
ลักษณะการทำงาน..ไวยากรณ์พื้นฐานของ while loop คือ
while (เงื่อนไข) {
คำสั่งที่จะกระทำเมื่อเป็นจริง
}
ตัวอย่าง while loop แสดงหมายเลข จาก 1 ถึง 5
$num = 1;
while ($num <= 5) { echo $num.” ”;$num++; } $num = 1; (จุดเริ่มต้นของแต่ละรอบ) คือ การทดสอบเงื่อนไข ถ้าเป็นจริงก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จก็จะจบการทำงานค่ะอะ ไปเรื่องต่อไปเลยดีกว่า รีบๆ…(ก็นู๋หิว T^T) for loop คืออะไร??
มีหน้าที่ เหมือน While loop ทุกประการเลย -*- แต่ มันแตกต่างกันตรงที่ วิธีการเขียน ซึ่ง ลักษณะการเขียนของ For loop มีดังนี้..
for loop คืออะไร??
มีหน้าที่ เหมือน While loop ทุกประการเลย -*- แต่ มันแตกต่างกันตรงที่ วิธีการเขียน ซึ่ง ลักษณะการเขียนของ For loop มีดังนี้..
for (กำหนดค่าเริ่มต้น; เงื่อนไข; เปลี่ยนแปลงค่าเริ่มต้น) {
คำสั่งที่จะกระทำเมื่อเป็นจริง;
}
กำหนดค่าเริ่มต้น: คือการกำหนดค่าเริ่มต้นการทำงาน เช่น $i = 0
เงื่อนไข: ซึ่งก่อนเริ่มแต่ละรอบจะทดสอบเงื่อนไขเสมอ ถ้าเป็นเท็จจะเป็นการสิ้นสุดรอบการทำงาน เช่น $i < 5
เปลี่ยนแปลงค่าเริ่มต้น: ทำการปรับปรุงค่าเริ่มต้น เช่น $i++
ตัวอย่างเช่น
for ($i = 0; $i< 5; $i++){
echo “แป้งน่ารัก”;
}
เมื่อเปรียบเทียบ while loop กับ for loop ในการทำงานแบบเดียวกัน for loop จะมีความกะทัดรัดมากกว่า
อะ ก็จบไปแล้ว ทั้ง IF, While, For เย้..ได้ไปกินข้าวละ อ๊ะ
เด๋วก่อน..ไหนๆ ก็ไหนๆ ละ แป้ง จะแถมเรื่องการออกจากเงื่อนไข loop ก่อนไปกินข้าวละกัน*0*มาดูกันเลย…
การออกจากโครงสร้างควบคุม
ถ้าต้องการหยุดการประมวลผลคำสั่ง มี 3 วิธี ขึ้นกับผลที่ต้องการ
ถ้าต้องการหยุดการ loop สามารถใช้ประโยคคำสั่ง break เพื่อหยุดการทำงาน แล้วจะเด้งออกมาทำงานคำสั่งต่อไป
ถ้าต้องการกระโดดไปยังรอบต่อไป สามารถใช้ประโยคคำสั่ง continue
ถ้าต้องการสิ้นสุดประมวลผลสคริปต์ PHP สามารถใช้ exit ตามปกติใช้เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือ ใช้เพื่อทดสอบการทำงานบางอย่าง และไม่ต้องการให้ทำงานเลยโค้ดนั้นๆ เช่น
echo “แป้ง”;exit;echo “ไม่น่ารัก”;
ในโค้ดจะแสดงผลแค่ “แป้ง” แต่จะไม่แสดงผลคำว่า “ไม่น่ารัก”

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก http://lab.tosdn.com/?p=186

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับ php html javascript flash ฯลฯ เกี่ยวกับการทำเว็บได้ครับ ผ่าน coment ได้ครับ ยินดีตอบทุกปัญหา